Studio.
เราเลือกใช้ฟอนต์ Helvetica ซึ่งเป็นฟอนต์ที่อยู่ในช่วงรอยต่อระหว่างยุคแอนะล็อกกับดิจิทัล ตรงกับประวัติความเป็นมาของโรงพิมพ์พอดี คอนเซ็ปต์นี้น่าจะเข้ากับพี่ต่อเจ้าของร้าน จากนั้นก็เพิ่มสี CMYK เข้าไปเพื่อให้ภาพที่ออกมามีความทับซ้อนของยุคสมัยมากขึ้น และสิ่งที่เราให้ความสำคัญมากที่สุด ก็คือวัสดุที่ใช้ต้องไม่เพิ่มต้นทุนของเจ้าของกิจการมากนัก เราเอากระดาษสีที่เขามีมาปรับใช้เพื่อทำสมุดกับปฏิทิน ทดลองใช้กระดาษคราฟต์มาพิมพ์แบบต่าง ๆ จนได้งานที่ความหลากหลาย
แม้ขนมจะรสชาติอร่อย ใครชิมก็ติดใจ แต่ด้วยบรรจุภัณฑ์ที่ไม่แตกต่าง ใช้เวลานานในการบรรจุ ทั้งยังไม่สะดวกในการขนส่ง เอกรัตน์ สุวรรณรัตน์ นักออกแบบและผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นจาก Soulsouthจึงเข้ามาช่วยพัฒนาบรรจุภัณฑ์ร่วมกับทางร้านจนลงตัว ได้บรรจุภัณฑ์โฉมใหม่ที่นำขนมดังทั้ง 3 ชนิด ใส่ในกล่องพลาสติกที่ทางร้านใช้อยู่แล้ว ส่วนทองเอกเปลี่ยนเป็นการโชว์เนื้อขนมพร้อมแถบคาด บอกเล่าตั้งแต่ชื่อวัตถุดิบสำคัญจนถึงเคล็ดลับหลังครัว เพิ่มมูลค่าให้ขนมมีเรื่องราว แถมจัดเรียงเป็นเซ็ต ส่งไปจำหน่ายยังพื้นที่ต่าง ๆ ได้สะดวกยิ่งขึ้น